หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง มัทนะพาธา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รหัสรายวิชา ท ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เวลาเรียน ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา
------------------------------------------------------------------------
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
1. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท 5.1 ม. 4-6/1)
2. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของชาติ (ท 5.1 ม. 4-6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายกลวิธีการประพันธ์ในบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
2. วิเคราะห์กลวิธีการประพันธ์ในบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
3. บอกคุณค่าของการใช้กลวิธีการประพันธ์ในวรรณคดี
4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
กลวิธีการประพันธ์เป็นการเลือกใช้ถ้อยคำมาแต่งคำประพันธ์ให้เกิดความไพเราะงดงาม และช่วย
สื่อความหมายให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเข้าใจกลวิธีการประพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ทำให้อ่านวรรณคดีได้เข้าใจ
และเกิดอรรถรสในการอ่าน คุณค่าของบทละครคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ(ศ.3.1 ม 4-6/1) และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)
6. กิจกรรมการเรียนรู้
คาบเรียนที่
1. ครูกระตุ้นให้นักเรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้วยการยกย่องชมเชยการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะใน
การแสดงบทบาทสมมุติแล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
บทร้อยกรองที่มีความงดงามทางวรรณศิลป์ทำให้เกิดความรู้สึกอย่างไรแก่ผู้อ่าน (5 นาที)
2. ให้นักเรียนอ่านคำประพันธ์ที่ครูกำหนด แล้วร่วมกันบอกลักษณะเด่นของคำประพันธ์
ดังกล่าว(5 นาที) การสรรคำ
อินทวงส์ฉันท์
สุเทษณ์ ที่หล่อนมิยินยอม มะนะรักสมัครสมาน
มีคู่สะมรมาน อภิรมย์ฤเป็นไฉน?
วสันตดิลกฉันท์
มัทนา หม่อนฉันบมีบุรุษผู้ ประดิพัทธะใดใด, เป็นโสดบมีมะนะสะใฝ่ อภิรมย์ฤสมรส