ข่าวสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง มัทนะพาธา

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง มัทนะพาธา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รหัสรายวิชา ท ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เวลาเรียนชั่วโมง

ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา

------------------------------------------------------------------------

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้ ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น

1. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท 5.1 ม. 4-6/1)

2. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ (ท 5.1 ม. 4-6/3)

3. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (ท 5.1 ม.4-6/4 )

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายเนื้อเรื่องบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

2. แสดงบทบาทสมมุติโดยถ่ายทอดเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง เหมาะสม

3. วิเคราะห์เนื้อเรื่องบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา

4. บอกคุณค่าของวรรณคดีไทย และความสำคัญของการถ่ายทอดวรรณคดีไทย

4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้

การแสดงบทบาทสมมุติทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องและข้อคิดของวรรณคดีได้ดียิ่งขึ้น บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเนื่อง จาก ความรัก ดังนั้น การตัดสินใจกระทำสิ่งใดเกี่ยวกับความรัก ควรพิจารณาผลกระทบที่ตามมาและไม่ นึกถึงแต่ตนเองฝ่ายเดียว

5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ(ศ.3.1 4-6/1) และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)

6. กิจกรรมการเรียนรู้

คาบเรียนที่

1. ครูกล่าวยกย่องชมเชยนักเรียนที่กล้าแสดงออก และตั้งใจในการทำงาน แล้วให้นักเรียน

ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้(5 นาที) การแสดงบทบาทสมมุตินักเรียนต้องมีทักษะอะไรบ้าง

2. ให้นักเรียนดูภาพตัวละครจากบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา แล้วสนทนาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของตัวละคร โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม5 กลุ่ม ส่งตัวแทนจับฉลากเนื้อหาที่ครูมอบหมาย วิเคราะห์เนื้อเรื่อง และตัวละครในบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา คือ

1) เทพบุตรสุเทษณ์

2) วิทยาธรมายาวิน

3) เทพธิดามัทนา

4) ท้าวชัยเสน

5) พระนางจัณฑี

ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ ความถูกต้อง(15นาที)

3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนบทละครและแสดงบทบาทสมมุติตามเนื้อเรื่อง และยกย่องชมเชยการทำงานร่วมกัน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลงาน(30นาที)

4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดในการแสดงบทบาทสมมุติ ดังนี้(5 นาที) การแสดงบทบาทสมมุติทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องและข้อคิดของวรรณคดีได้ดียิ่งขึ้น

คาบเรียนที่

1. ครูกล่าวยกย่องชมเชยในการแสดงบทบาทสมมุติในครั้งที่ผ่านมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้(5 นาที) พิษรักของหนุ่มสาวมีอานุภาพอย่างไร

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 กลุ่ม วิเคราะห์เรื่องโดยใช้วิจารณญาณแปลความ ตีความ และขยายความในประเด็นต่อไปนี้(20นาที)

1) สาเหตุที่สำคัญของโศกนาฏกรรมรักครั้งนี้คืออะไร

2) ตัวละครสำคัญในเนื้อเรื่องตอนนี้มีใครบ้าง

3) ตัวละครแต่ละตัวมีพฤติกรรมอย่างไร

4) พฤติกรรมของตัวละครตัวใดส่งผลกระทบไปยังตัวละครอื่น ๆ มากที่สุด เพราะเหตุใด

5) ตัวละครตัวใดสมควรเป็นผู้รับผิดชอบผลกระทบที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ เพราะเหตุใด

6) พิษของความรักที่สะท้อนจากวรรณคดีเรื่องนี้มีมีอะไรบ้าง ที่นักเรียนสามารถใช้เป็น อุทาหรณ์สอนใจตนเองเรื่องความรักได้

7) สาระสำคัญที่สุดในเนื้อเรื่องตอนนี้คืออะไร สาระดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของ นักเรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด

8) หาก นักเรียนเป็นเทพบุตรสุเทษณ์จะตัดสินใจเกี่ยวกับความรักของตนอย่างไร

9) แก่นของเรื่องนี้คืออะไร

3. ให้นักเรียนพิจารณาปัญหาสำคัญในเนื้อเรื่องตอนนี้ แล้ววิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและผลกระทบ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไข โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง(20 นาที)

4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดทีได้จากการอ่านบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ดังนี้

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา แสดงให้เห็นถึงความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อน อันเนื่องจากความรัก ดังนั้น การตัดสินใจกระทำสิ่งใดเกี่ยวกับความรัก ควรพิจารณาผลกระทบที่ตามมา และไม่นึกถึงแต่ตนเองฝ่ายเดียว(5 นาที)

7. สื่อแหล่งการเรียนรู้

อุปกรณ์ประกอบการแสดงบทบาทสมมุติ กระดาษสำหรับทำกิจกรรม

8. การวัดและประเมินผล

 วิธีการวัดและประเมินผล

1) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

2) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

3) ตรวจผลงานของนักเรียน

เครื่องมือ

1) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

เกณฑ์การประเมิน 

1) การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน

ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน

2)การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก

คะแนน 7-8 ระดับ ดี

คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้

คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง

การประเมินผลตามสภาพจริง

การประเมินกิจกรรมนี้ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)

เรื่อง การแสดงบทบาทสมมุติตามบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

 

ระดับ

คะแนน

เกณฑ์การประเมิน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

1.

 

ลักษณะของ

การแสดง

 

 

มีส่วนร่วมในการวางแผนและ

การตัดสินใจ

 

 

มีส่วนร่วมในการวางแผนและ

การตัดสินใจ

เป็นส่วนมาก

 

 

มีส่วนร่วมในการวางแผนและ

การตัดสินใจ

เป็นบางส่วน

 

 

ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนและ

การตัดสินใจ

 

 

2.

 

เนื้อเรื่อง

เนื้อเรื่องสอดคล้อง

ตรงประเด็นที่กำหนดทุกประการ

 

 

เนื้อเรื่องถูกต้อง

ขาดไปบางหัวข้อ

แต่ไม่ใช่สาระสำคัญ

 

 

เนื้อเรื่องถูกต้อง

ขาดหัวข้อที่เป็นสาระสำคัญบางหัวข้อ

 

 

เนื้อเรื่องไม่สมบูรณ์หัวข้อไม่ครบ

 

 

3.

 

อุปกรณ์

การแต่งกาย

 

 

อุปกรณ์ในการแสดงครบ การแต่งกายสอดคล้องกับเรื่อง

 

 

อุปกรณ์ในการแสดงขาดแต่ไม่ใช่จุดสำคัญ การแต่งกายสอดคล้องกับเรื่อง

 

 

ขาดในข้อใดข้อหนึ่งระหว่างอุปกรณ์

กับการแต่งกาย

 

 

ขาดทั้งอุปกรณ์และ

การแต่งกาย

 

 

4.

 

ความคิด

สร้างสรรค์

 

 

มีความแปลกใหม่

สร้างสรรค์

และสร้างเสริมจินตนาการได้ดี

 

 

มีความแปลกใหม่

และสร้างเสริมจินตนาการได้ดี

 

 

สร้างเสริมจินตนาการได้ดีบางส่วน

 

 

สร้างเสริมจินตนาการ

ได้เพียงเล็กน้อย

 

 

5.

 

เวลา

ใช้เวลาได้เหมาะสม

ตรงตามกำหนด

 

 

ใช้เวลามากกว่า

หรือน้อยกว่าเวลาที่กำหนดไป

 

2-3 นาที

ใช้เวลามากกว่า

หรือน้อยกว่าเวลาที่กำหนดไป

 

4-5 นาที

ใช้เวลามากกว่า

หรือน้อยกว่าเวลาที่กำหนดไป

 

6 นาที

ขึ้นไป

 

 

 

y

อ่าน y ครั้ง
y...