ข่าวสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง มัทนะพาธา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง มัทนะพาธา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รหัสรายวิชา ท ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เวลาเรียน ชั่วโมง

ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ท เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย

อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น

1. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท ม.

2. วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็น มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ (ท 5.1 ม. 4-6/3)

3. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กําหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

และนำไปใช้อ้างอิง
3. จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายที่มาและหลักการอ่านทำนองเสนาะคำประพันธ์ประเภทฉันท์ และคำศัพท์ของ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา
2. อ่านทำนองเสนาะและท่องจำบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
3. จับใจความของเรื่อง บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา
4. บอกคุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะและการท่องจำบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยและนำไปใช้อ้างอิง
4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางโครงเรื่องขึ้นเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรัก โดยทรงกำหนดให้นางเอกของเรื่องถูกสาปเป็นดอกกุหลาบ วรรณคดีเรื่องนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตำนานแห่งดอกกุหลาบ การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา อย่างถูกต้อง ทำให้ได้รับอรรถรสจากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดความเป็นไทยให้คงอยู่ต่อไป

5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ(ศ.3.1 4-6/1) และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)

6. กิจกรรมการเรียนรู้

คาบเรียนที่ 1

1. ครูนำภาพวาดนางมัทนากลายเป็นดอกกุหลาบ มาให้นักเรียนดู แล้วสนทนาพูดคุยกับนักเรียนถึงตำนานความเป็นมาเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงความรักที่ผิดหวัง(5 นาที

2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง มัทนะพาธา 10 ข้อ 10 นาที. ให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่องของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา แล้วบันทึกสาระสำคัญ โดยครูเป็นผู้อธิบายหรือแนะนำความรู้ที่นักเรียนควรรู้เพิ่มเติม(10 นาที. ให้นักเรียนร่วมกันอ่านบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธาองก์ที่ ตั้งแต่มายาวินทำพิธีสะกดพามัทนามาพบสุเทษณ์ไปจนจบองก์เมื่อสุเทษณ์สาปมัทนา20 นาที. ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่สนใจในระหว่างอ่านโดยสังเกตความหมายจากบริบทและค้นหา ความหมายจากศัพทานุกรมท้ายเรื่อง หรือจากพจนานุกรมแล้วบันทึกคำศัพท์ที่สนใจ จากนั้นร่วมกัน สรุปเนื้อเรื่องตอนที่อ่านนาที ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความคิดที่ได้จากการอ่าน ดังนี้  5 นาที บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางโครงเรื่องขึ้นเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรัก โดยทรงกําหนดให้นางเอกของเรื่องถูกสาปเป็นดอกกุหลาบ วรรณคดีเรื่องนี้จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตำนานแห่งดอกกุหลาบ ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้

วรรณคดีที่ได้รับการยกย่องในอดีตเหมือนหรือแตกต่างจากวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องในปัจจุบันอย่างไร

คาบเรียนที่ 2 ให้นักเรียนฟังการอ่านทำนองเสนาะบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา จากแถบบันทึกเสียง หรือครูอ่านให้ฟัง 5 นาที ให้นักเรียนฝึกอ่านทำนองเสนาะ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา โดยฝึกออกเสียง พร้อมกับครู แล้วจึงฝึกออกเสียงด้วยตนเอง10 นาที ให้นักเรียนผลัดกันออกมาอ่านทำนองเสนาะหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องและประเมินการอ่าน 30 นาที ให้นักเรียนเลือกคำประพันธ์ที่ประทับใจมากที่สุด และเห็นว่าสมควรแก่การท่องจำเพื่อนำไปสื่อสารอ้างอิง คัดลอกบทกลอนนั้นและระบุเหตุผลที่ประทับใจ ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอโดยอ่านเป็นทำนองเสนาะ และบอกเหตุผลที่ประทับใจ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทประพันธ์และเหตุผลที่ประทับใจของแต่ละคน ครูให้คำแนะนำและกล่าวชมเชยนักเรียน  10 นาที ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำบทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา อย่างถูกต้อง ทำให้ ได้รับอรรถรสจากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดความเป็นไทย ให้คงอยู่ต่อไป5 นาที ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้ เนื้อเรื่องตอนใดอ่านทำนองเสนาะแล้วไพเราะที่สุด เพราะเหตุใด

7.สื่อการเรียนรู้

1. แถบบันทึกเสียง

2. พจนานุกรม

8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1. การวัดผลก่อนการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

2. การประเมินผลตามสภาพจริง หน่วยการเรียนรู้ที่3บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

การประเมินผลตามสภาพจริง

การประเมินกิจกรรมให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง

เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

 

ระดับคะแนน

เกณฑ์การประเมิน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

คะแนน

 

 

การอ่านออกเสียง

บทร้อยกรอง

 

 

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

 

 

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

 

 

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

เว้นจังหวะเหมาะสม

 

 

อ่านออกเสียง

ได้ถูกต้อง

ตามอักขรวิธี

เสียงดังชัดเจน

แต่ยังต้องปรับปรุง

 

 

 

y

อ่าน y ครั้ง
y...