ข่าวสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รหัสรายวิชา ท ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เวลาเรียน ชั่วโมง

ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา

------------------------------------------------------------------------

1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

2. ตัวชี้วัดช่วง ชั้น 5.1 ม. 4-6/1 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น 5.1 ม. 4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต 5.1 ม. 4-6/3 วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดี และวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ 5.1 ม. 4-6/4 สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตจริง

3. จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1. อธิบายเนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

2. สังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3. วิเคราะห์คุณค่าของการอ่านวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้

ลิลิตตะเลงพ่ายแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความเสียสละ ความรับผิดชอบในหน้าที่ ความรัก ในผืนแผ่นดินเกิด ยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ดังนั้น คนไทยทุกคนต้อง ช่วยกันรักษาและปกป้องชาติไทยไว้ให้ลูกหลานต่อไป ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดียอพระเกียรติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทำให้คนไทย รู้สึกภาคภูมิใจในบรรพบุรุษไทยที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทยและช่วยปลูกจิตสำนึก ของความรักชาติการอ่านอย่างพินิจคุณค่าทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของวรรณคดีไทย

5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

- วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย(ส 4.3 ม 5/1 )

- วิเคราะห์ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย(ส 4.3 ม 5/2)

และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)

กิจกรรมการเรียนรู้

คาบเรียนที่ 1. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้(5 นาที)

ถ้าชาติไทยไร้เอกราช คนไทยจะเป็นเช่นใด

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6กลุ่ม เท่าๆกันเลือกตัวแทนกลุ่มมาจับฉลากหัวข้อ เพื่ออ่านแปลความ ตีความและขยายความ จากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายดังนี้(20 นาที)

1. เพราะเหตุใดพระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงจึงโปรดให้พระมหาอุปราชายกทัพเข้ามาตี กรุงศรีอยุธยา

2. พระมหาอุปราชาทรงรู้สึกอย่างไรในการเสด็จยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้
3.
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อทรงทราบข่าวข้าศึกพม่ายกทัพมาโจมตีทรงตัดสิน พระทัยอย่างไร

4.เมื่อช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถตกมัน วิ่งเตลิด เข้าไปในวงล้อมของข้าศึก โดยไม่มีกองทัพของพระองค์ติดตามไปด้วย ทรงแก้ปัญหา อย่างไร แสดงให้เห็นคุณลักษณะใดของพระองค์
5.ข้อคิดที่นักเรียนได้รับจากการอ่านลิลิตตะเลงพ่ายคืออะไร

6.นักเรียนสามารถนำข้อคิดที่ได้รับจากการอ่านลิลิตตะเลงพ่ายไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

7. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอความคิดของกลุ่ม ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ ความถูกต้อง ครูให้คำแนะนำเพิ่มเติมและชมเชยการนำเสนองานของนักเรียนและเปิดโอกาสให้เพื่อน

ต่างกลุ่มซักถามข้อสงสัย(20 นาที)

4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่าน ดังนี้(5 นาที)

ลิลิตตะเลงพ่ายแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ ความเสียสละ ความรับผิดชอบในหน้าที่

ความรักในผืนแผ่นดินเกิด ยอมเสียสละเลือกเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาและปกป้องชาติไทยไว้ให้ลูกหลานต่อไป

คาบเรียนที่

1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับผลของการสู้รบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถกับฝ่ายพม่า สะท้อนให้เห็นคุณค่าในด้านใดที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน (10 นาที)

2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม ช่วยกันวิเคราะห์คุณค่าของเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ในประเด็นต่อไปนี้

กลุ่มที่ 1 คุณค่าด้านเนื้อหา กลุ่มที่ 2 คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มที่ 3 คุณค่าด้านอารมณ์

กลุ่มที่ 4 คุณค่าด้านคุณธรรม กลุ่มที่ 5 คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (20นาที)

3. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 3 เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าของลิลิตตะเลงพ่าย แล้วแลกเปลี่ยนความรู้

และความคิดซึ่งกันและกัน(10 นาที)

4. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน10ข้อ (10นาที)

6. สื่อการเรียนรู้

1. กระดาษสำหรับทำกิจกรรม

2. ฉลาก

3. อินเทอร์เน็ต

4. ใบงาน

7. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

วิธีการวัดและประเมินผล

1) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม

2) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

3) ตรวจผลงานของนักเรียน

เครื่องมือ

1) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

 เกณฑ์การประเมิน 

1) การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม

ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน

2)การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม

คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก คะแนน 7-8 ระดับ ดี คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้ คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง

8. การวัดและประเมินผล

1. การวัดผลหลังการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ลิลิตตะเลงพ่าย

2. การประเมินผลตามสภาพจริง หน่วยการเรียนรู้ที่2ลิลิตตะเลงพ่าย

การประเมินผลตามสภาพจริง

การประเมินใบงานนี้ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง

(Rubrics)

เรื่อง วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม

 

ระดับคะแนน

เกณฑ์ การประเมิน

 

 

คะแนน

 

คะแนน

คะแนน

คะแนน

 

 

การวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรม

 

 

วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมได้ละเอียดทุกแง่มุม มีเหตุผลและตัวอย่างประกอบชัดเจน สามารถหยิบยกประเด็นได้น่าสนใจ

 

 

วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมได้ละเอียดทุกแง่มุม มีเหตุผลและตัวอย่างประกอบในประเด็นที่สำคัญ

 

 

วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมในด้าน
ต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้อธิบายละเอียดมากนัก มีเหตุผล และตัวอย่างประกอบเล็กน้อย

 

 

วิเคราะห์วรรณคดี และวรรณกรรม อย่างรวบรัด อธิบายเหตุผลเล็กน้อย แต่ไม่มีการยกตัวอย่างประกอบ

 

 

 

y

อ่าน y ครั้ง
y...