สถิติ
เปิดเมื่อ | 8/10/2013 |
อัพเดท | 22/01/2014 |
ผู้เข้าชม | 181527 |
แสดงหน้า | 217094 |
ปฎิทิน
|
Sun |
Mon |
Tue |
Wed |
Thu |
Fri |
Sat |
| | | | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
ข่าวสาร
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รหัส/รายวิชา ท 32101 ภาษาไทย 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัด
ท 5.1 ม. 4-6/6 ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่า ตามความสนใจและนำไปใช้อ้างอิง
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการอ่านทำนองเสนาะประเภทลิลิต และอธิบายลักษณะของลิลิต
2. อ่านทำนองเสนาะและท่องจำเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย
3. แต่งลิลิต
4. บอกคุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะและการท่องจำกลอนเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย และบอกคุณค่าของวรรณคดีไทย เพื่อธำรงอนุรักษ์ความเป็นไทย และสามารถนำไปใช้อ้างอิง
4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ได้รับอรรถรสจากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการธำรงอนุรักษ์และสืบทอดความเป็นไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
คำประพันธ์ประเภทลิลิตประกอบด้วย โคลงกับร่ายซึ่งคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย
เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่เก่าแก่ ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของไทยหลายเรื่อง ถือเป็นคำประพันธ์ที่มีผู้นิยม
แต่งอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันการศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งโคลงและร่ายจะช่วยให้สามารถอ่านคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่ายได้อย่างเข้าใจและมีอรรถรสยิ่งขึ้นทำให้สามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่ายได้ไพเราะและถูกต้องทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมทางภาษาได้อีกทางหนึ่งด้วย
5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย(ส 4.3 ม 5/1 ) เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
- วิเคราะห์ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย(ส 4.3 ม 5/2)
และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)
6. กิจกรรมการเรียนรู้
คาบเรียนที่ 3
1. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้(5 นาที)
อ่านทำนองเสนาะอย่างไรให้ไพเราะน่าฟัง
2. ให้นักเรียนดูและฟังการอ่านทำนองเสนาะเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย จากแถบบันทึกเสียง
หรือครูอ่านให้ฟัง ให้นักเรียนฝึกอ่านทำนองเสนาะเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย โดยฝึกออกเสียงพร้อมกับครู
แล้วจึงฝึกออกเสียงด้วยตนเอง(10 นาที)
3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ร่วมกันสรุปกลวิธีการอ่านทำนองเสนาะให้น่าฟัง แล้วผลัดกันออกมาอ่านทำนองเสนาะในกลุ่ม คัดเลือกตัวแทนกลุ่มที่อ่านได้ไพเราะอ่านหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินการอ่าน ครูให้คำแนะนำเพิ่มเติม(10 นาที)
4. ให้นักเรียนเลือกคำประพันธ์ที่ประทับใจมากที่สุด และเห็นว่าสมควรแก่การท่องจำ เพื่อนำไปสื่อสารอ้างอิง ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอโดยอ่านเป็นทำนองเสนาะ และบอกเหตุผลที่ประทับใจ ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง(20 นาที)
5. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านดังนี้(5 นาที)
การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ได้รับอรรถรส
จากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการธำรงอนุรักษ์และสืบทอดความเป็นไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
คาบที่ 4
1. ให้นักเรียนทบทวนความรู้เรื่อง ลักษณะของโคลงสี่สุภาพ และร่ายสุภาพ แล้วร่วมกัน
สรุปความเข้าใจ ครูเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม(5นาที)
2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม วิเคราะห์ลักษณะคำประพันธ์ในลิลิตตะเลงพ่าย ดังนี้(20 นาที)
กลุ่มที่ 1 การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ/สระ
กลุ่มที่ 2 การเล่นคำ
กลุ่มที่ 3 การหลากคำ
กลุ่มที่ 4 การใช้โวหารภาพพจน์
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมแข่งขันประชันกานต์ โดยให้กลุ่มที่ 1 แต่งโคลงบาทที่1
แล้วให้กลุ่มที่ 2-4 ต่อโคลงทีละบาทจนจบบท(10 นาที)
4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแต่งลิลิต โดยมีเนื้อหาบรรยายประสบการณ์ของตนเอง ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องและประเมินผลงาน(10นาที)
5. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่าน ดังนี้(5 นาที)
คำประพันธ์ประเภทลิลิตประกอบด้วย โคลงกับร่ายซึ่งคำประพันธ์ประเภทโคลง
และร่าย เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่เก่าแก่ ปรากฏในวรรณคดีสำคัญของไทยหลายเรื่องถือเป็น
คำประพันธ์ที่มีผู้นิยมแต่งอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันการศึกษาหลักเกณฑ์
และวิธีการแต่งโคลงและร่ายจะช่วยให้สามารถอ่านคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่ายได้อย่างเข้าใจ
และมีอรรถรสยิ่งขึ้นทำให้สามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่ายได้ไพเราะและถูกต้อง
ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์มรดกและวัฒนธรรมทางภาษาได้อีกทางหนึ่งด้วย
7. สื่อการเรียนรู้
1. ฉลาก
2. กระดาษสำหรับทำกิจกรรม
8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
1) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
2) สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3) ตรวจผลงานของนักเรียน
2. เครื่องมือ
1) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3. เกณฑ์การประเมิน
1) การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
2)การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก
คะแนน 7-8 ระดับ ดี
คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้
คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง
9. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ลิลิตตะเลงพ่าย
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดการเรียนรู้
ค่อนข้างยาก และมีเนื้อหาสาระมากเกินไป
2. ควรเพิ่มเวลาในการฝึกอ่านทำนองเสนาะของคำประพันธ์ค่อนข้างน้อย
3. มีเวลาในการวิเคราะห์ลักษณะคำประพันธ์น้อยเกินไป
4. นักเรียนตัวแทนกลุ่มที่เป็นกรรมการการประเมินตามสภาพจริงไม่เข้าใจข้อกำหนดในการให้คะแนน และมักจะให้คะแนนเกินความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกับการรายงานหรือการอภิปรายหน้าชั้น
1. ปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน ลิลิตตะเลงพ่าย ที่จะใช้ในภาคเรียนต่อไปมีเนื้อหาสาระ
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
ที่ง่ายและกระชับมากกว่านี้ โดยให้นักเรียนนำความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
2. เพิ่มเวลาการฝึกอ่านทำนองเสนาะ จากเวลา 10 นาทีเป็น 15 นาทีเพื่อความเหมาะสม
3. ควรเพิ่มเวลาในการวิเคราะห์ลักษณะคำประพันธ์ให้ละเอียด เป็น 15 นาที
4. ครูต้องอธิบายข้อกำหนดการให้คะแนนการประเมินตามสภาพจริงแก่ตัวแทนนักเรียนให้ละเอียดกว่านี้ และต้องเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงามในการให้คะแนนอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับผลงานที่นำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
5. ครูควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ในอันที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลงานของนักเรียนให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
|
|
|
|
|