หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รหัสรายวิชา ท ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ เวลาเรียน ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โรงเรียน พุทธจักรวิทยา
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ท
5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย อย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น ท 5.1ม. 4-6/1 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น ท 5.1 ม. 4-6/2 วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทาง ประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของสังคมในอดีต
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายลักษณะของลิลิตที่มาความหมายของคำศัพท์ในเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
2. เล่าเรื่องและจับใจความเนื้อเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย
3. บอกความสำคัญของการอ่านวรรณคดี เพื่อการศึกษาลิลิตตะเลงพ่าย
4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระมหากษัตริย์ที่ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไว้ได้สำเร็จ เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์เป็นอย่างสูงให้ความรู้ด้านต่าง ๆ
หลายด้าน อาทิ ประวัติศาสตร์ ประเพณี ตำราพิชัยสงครามธรรมะนอกจากจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจ ซาบซึ้ง ในวรรณคดีแล้วยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติบ้านเมืองเป็นหนังสือที่ควรแก่
การศึกษาโดยแท้ ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวีรกรรมการสู้รบเพื่อปกป้องเอกราชชาติไทยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีเนื้อเรื่องแสดงถึงความกล้าหาญ ความเสียสละ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของทหารเพื่อประโยชน์สุข ของส่วนรวม เป็นวรรณคดีที่ควรศึกษาตระหนักและเห็นคุณค่าในฐานะของคนไทย การศึกษาวรรณคดี ต้องเข้าใจความหมายของคำศัพท์ จึงจะสามารถจับใจความและได้รับอรรถรสในการอ่าน
5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย
-วิเคราะห์ประเด็นสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย(ส 4.3 ม 5/1)
- วิเคราะห์ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย(ส 4.3 ม 5/2)
และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4-6/1)
6. กิจกรรมการเรียนรู้
คาบเรียนที่ 1. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
“เอกราชมีความสำคัญอย่างไร”(5 นาที)
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (10นาที)
3. ให้นักเรียนดูวีซีดีตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือภาพการทำยุทธหัตถี จากนั้นร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวของพระองค์ท่าน(5 นาที)
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาถึงประวัติศาสตร์ไทยเมื่อครั้งเสียกรุงให้แก่ประเทศพม่าครั้งที่ 1
ครูกล่าวสรรเสริญวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้ทรงกอบกู้ชาติไทยให้ได้มาซึ่งเอกราชและ
ความเป็นไทย เป็นแนวทางให้นักเรียนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน (10 นาที)
5. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะคำประพันธ์ของเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ครูอธิบายเพิ่มเติม
(10 นาที)
6. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมกันอ่านเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ช่วยกันศึกษาคำศัพท์
และจับใจความของเรื่อง (5 นาที)
7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์และสรุปประเด็นเนื้อเรื่อง ส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน(10นาที)
คาบเรียนที่ 1. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้(5 นาที)
“วีรกรรมของบรรพบุรุษมีคุณค่าควรศึกษาเพราะเหตุใด”
2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 10 กลุ่ม หาคำศัพท์จากศัพทานุกรมท้ายเรื่องหรือพจนานุกรม
และถอดคำประพันธ์เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง(20นาที)
3. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปเหตุการณ์สำคัญจากเนื้อเรื่อง แล้วเขียนเป็นแผนภาพความคิด(15 นาที)
ตัวอย่าง พระเจ้ากรุงหงสาวดีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชารำพันถึงนางอันเป็นที่รักขณะเดินทาง ศุภนิมิตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและ สมเด็จพระเอกาทศรถตกมันวิ่งเข้าไปในกองทัพของข้าศึก ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระมหาอุปราชา สมเด็จพระวันรัตสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและ
ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่เหล่าทหาร
4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่าน ดังนี้
ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นวีรกรรมการสู้รบเพื่อปกป้องเอกราชชาติไทยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีเนื้อเรื่องแสดงถึงความกล้าหาญ ความเสียสละ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของทหารเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เป็นวรรณคดีที่ควรศึกษาในฐานะของคนไทย การศึกษาวรรณคดีต้องเข้าใจความหมายของคำศัพท์ จึงจะสามารถ จับใจความและได้รับอรรถรสในการอ่าน(5 นาที)
7. สื่อแหล่งการเรียนรู้
1. วีซีดี
2. พจนานุกรม
8. การวัดและประเมินผล
1. การวัดผลก่อนการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ลิลิตตะเลงพ่าย
2. การประเมินผลตามสภาพจริง หน่วยการเรียนรู้ที่2ลิลิตตะเลงพ่าย
9. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ลิลิตตะเลงพ่าย
ค่อนข้างยาก และมีเนื้อหาสาระมากเกินไป
2. ควรเพิ่มเวลาในการสนทนาลักษณะคำประพันธ์ร่วมกัน 5 นาทีค่อนข้างน้อย
3. มีเวลาในการวิเคราะห์เนื้อเรื่องน้อยเกินไป
4. นักเรียนตัวแทนกลุ่มที่เป็นกรรมการการประเมินตามสภาพจริงไม่เข้าใจข้อกำหนดในการให้คะแนน และมักจะให้คะแนนเกินความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกับการรายงานหรือการอภิปรายหน้าชั้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1. ปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน ลิลิตตะเลงพ่าย ที่จะใช้ในภาคเรียนต่อไปมีเนื้อหาสาระ
ที่ง่ายและกระชับมากกว่านี้ โดยให้นักเรียนนำความรู้มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
2. เพิ่มเวลาการสนทนาในคาบที่ 1 จากเวลา 10 นาทีเป็น 15 นาทีเพื่อความเหมาะสม
3. ควรเพิ่มเวลาในการวิเคราะห์เนื้อเรื่องให้ละเอียด เป็น 15นาที
4. ครูต้องอธิบายข้อกำหนดการให้คะแนนการประเมินตามสภาพจริงแก่ตัวแทนนักเรียนให้ละเอียดกว่านี้ และต้องเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงามในการให้คะแนนอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับผลงานที่นำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
5. ครูควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ในอันที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลงานของนักเรียนให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ความรู้เพิ่มเติม
ลิลิตตะเลงพ่าย
เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ ปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวร มหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญแต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพแต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
เริ่มต้นชมบุญบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วดำเนินความตามประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรได้ครองราชสมบัติ พระองค์จึงตรัสปรึกษาขุนนางทั้งปวงว่ากรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ พระพี่น้องทั้งสองอาจรบพุ่งชิงความเป็นใหญ่กัน ยังไม่รู้เหตุผลประการใด ควรส่งทัพไปเหยียบดินแดนไทย เป็นการเตือนสงครามไว้ก่อน ถ้าเหตุการณ์เมืองไทยไม่ปกติสุขก็ให้โจมตีทันที ขุนนางทั้งหลายก็เห็นชอบตามพระราชดำรินั้น พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้พระมหาอุปราชเตรียมทัพร่วมกับพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ แต่พระมหาอุปราชกราบทูลพระบิดาว่าโหรทายว่าชันษาของพระองค์ร้ายนัก สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีตรัสว่าพระมหาธรรมราชาไม่เสียแรงมีโอรสล้วนแต่เชี่ยวชาญกล้าหาญในศึกมิเคยย่อท้อการสงคราม ไม่เคยพักให้พระราชบิดาใช้เลยต้องห้ามเสียอีก และหวาดกลัวพระราชอาญาของพระบิดายิ่งนัก จึงเตรียมจัดทัพหลวงและทัพหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อยกมาตีไทย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ถือโอกาสรุกรานไทยหลายครั้งระหว่างที่ไทยติดศึกกับพม่า พอสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ทรงถอนกำลังไปสู้รบกับพม่าทันที ทัพหน้ายกล่วงหน้าไปตั้งที่ตำบลหนองสาหร่าย
ฝ่ายพระมาหาอุปราชาทรงคุมทัพมากับพระเจ้าเชียงใหม่รี้พลรบ 5แสน เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทรงชมไม้ ชมนก ชมเขา และใคร่ครวญถึงพระสนมกำนัลมาตลอดจนผ่านไทรโยคลำกระเพินและเข้ายึดเมืองกาญจนบุรีได้โดยสะดวก ต่อจากนั้นก็เคลื่อนพลผ่านพนมทวนเกิดลางร้ายลมเวรัมภาพัดฉัตรหัก ทรงตั้งค่ายหลวงที่ตำบลตระพังตรุ ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพยุหยาตราทางชลมารค ไปขึ้นบกที่ปากโมก บังเกิดศุภนิมิต ต่อจากนั้นทรงกรีฑาทัพทางบกไปตั้งค่ายที่ตำบลหนองสาหร่าย เมื่อทรงทราบว่าพม่าส่งทหารมาลาดตะเวน ทรงแน่พระทัยว่าพม่าจะต้องโจมตีกรุงศรีอยุธยาเป็นแน่ จึงรับสั่งให้ทัพหน้าเข้าปะทะข้าศึกแล้ว ล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้ประมาท แล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงนำทัพหลวงออกมาช่วย ช้างพระที่นั่งสองเชือกตกมันกลับเขาไปในหมู่ข้าศึกแม่ทัพนายกองตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชตรัสท้าพระมหาอุปราชากรำยุทธหัตถีจนมีชัยชนะ พระมหาอุปราชาขาดคอช้าง สมเด็จพระเอกาทศรถกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแก่มังจาชโร เมื่อกองทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชรับสั่งให้สร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหาอุปราชา เสด็จแล้วจึงเลิกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา เป็นอับดับจบเนื้อเรื่อง