ข่าวสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
เรื่องร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
รหัส/รายวิชา ท 32101 ภาษาไทย 3 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5   เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางพิศมัย มงคลวิเชียร โ  รงเรียน พุทธจักรวิทยา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้ ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่า และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัดช่วงชั้น
1. วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น (ท 5.1 ม. 4-6/1)
2. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง (ท 5.1 ม. 4-6/4 )
3. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจและ
นำไปใช้อ้างอิง (ท 5.1 ม. 4-6/6)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการอ่านทำนองเสนาะร่ายยาว และคุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะและอ่าน
ทำนองเสนาะและท่องจำบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี เพื่อธำรงอนุรักษ์ความเป็น
ไทยและสามารถนำไปใช้อ้างอิง
2. วิเคราะห์เรื่องโดยใช้วิจารณญาณ แปลความ ตีความ และขยายความ
4. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ได้อย่างถูกต้อง
ทำให้ได้รับอรรถรสจากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการธำรงอนุรักษ์และสืบทอด
ความเป็นไทยให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
5. การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ม 4-6/1) มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ(ศ.3.1
และกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของงาน ( ง 3.1 ม.4/1)
6. กิจกรรมการเรียนรู้
คาบเรียนที่ 3
1. ให้นักเรียนฟัง การอ่านทำนองเสนาะบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีจากแถบบันทึกเสียงหรือครูอ่านให้ฟัง พร้อมทั้งอธิบายประกอบเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ในหัวข้อต่อไปนี้
1)ความหมายของการอ่านทำนองเสนาะ
2)วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ
3)อรรถรสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ
4)หลักการอ่านทำนองเสนาะ
(10 นาที)
2. ให้นักเรียนฝึกอ่านทำนองเสนาะร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี โดยฝึกออกเสียง
จากบทอาขยานพร้อมกับครู แล้วจึงฝึกออกเสียงด้วยตนเอง (5 นาที)
3. ให้นักเรียนเลือกคำประพันธ์ที่ประทับใจมากที่สุดที่เห็นว่าสมควรแก่การท่องจำเพื่อนำไป
สื่อสารอ้างอิงและระบุเหตุผลที่ประทับใจให้นักเรียนผลัดกันออกมาอ่านทำนองเสนาะหน้าชั้นเรียน
ให้นักเรียนผลัดกันออกมาอ่านทำนองเสนาะหน้าชั้นเรียนความถูกต้องและประเมินการอ่าน(30 นาที)
4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปข้อคิดทีได้ดังนี้(5 นาที)
การอ่านทำนองเสนาะและท่องจำบทร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี อย่างถูกต้อง
ทำให้ได้อรรถรสจากการอ่าน สามารถนำวรรณคดีไปใช้อ้างอิง เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดความเป็นไทย
ให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
คาบเรียนที่4
1. ครูใช้คำถามท้าทายโดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ดังนี้
นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีความรักใดที่จะยิ่งใหญ่เทียบเท่าความรัก
ของพ่อแม่”(5 นาที)
2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์เนื้อหาตอนที่เรียน เพื่อให้ได้แลกเปลี่ยน
ความรู้และประสบการณ์ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกการคิด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูอธิบายและให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5-6 กลุ่ม วิเคราะห์เรื่องโดยใช้วิจารณญาณแปลความ ตีความ และขยายความ
ในประเด็นต่อไปนี้
1) เหตุใด เทพยาดา จึงต้องแปลงกายเป็นสัตว์ร้ายขวางทางพระนางมัทรีและการกระทำ
ของเทพยดาเหมาะสมหรือไม่ เพราะเหตุใด
2) พระนางมัทรีทำอย่างไรเมื่อพบสัตว์ร้ายขวางทางสัญจร และการกระทำดังกล่าวของ
พระนางมัทรีสะท้อนความเชื่ออย่างไร
3) เพราะเหตุใดพระเวสสันดรจึงยกพระกัณหาและพระชาลีให้แก่เฒ่าชูชก
4) พระเวสสันดรใช้อุบายอย่างไรเพื่อให้พระนางมัทรีคลายทุกข์ อุบายดังกล่าวใช้ได้ผลหรือไม่
เพราะเหตุใด
5) เหตุผลที่ชัดเจนที่สุดในการที่ต้องเทศน์ให้จบภายในวันเดียว
(25 นาที)
3. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอความคิดของกลุ่ม ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ
ความถูกต้อง(15 นาที)
4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้(5 นาที)
การอ่านแปลความ ตีความ ขยายความ เป็นการอ่านที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด
โดยการอ่านแปลความเป็นทักษะพื้นฐานของการอ่านตีความและการอ่านเพื่อขยายความ ถ้าสามารถแปลความเรื่องที่อ่านได้แล้ว ก็ย่อมส่งเสริมให้สามารถตีความเรื่องที่อ่านและสามารถขยายความได้ในที่สุด
ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการอ่านแต่ละประเภท ย่อมช่วยให้สามารถอ่านสารต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. วีซีดีบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2. หนังสือภาพ
3. พจนานุกรม
4. แถบบันทึกเสียง
8. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. การประเมินผลตามสภาพจริง หน่วยการเรียนรู้ที่1 ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
9. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ค่อนข้างยาก และมีเนื้อหาสาระมากเกินไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดการเรียนรู้
2. เวลาในการนำเสนอความคิดของกลุ่ม15 นาทีค่อนข้างน้อย
3. นักเรียนตัวแทนกลุ่มที่เป็นกรรมการการประเมินตามสภาพจริงไม่เข้าใจข้อกำหนดในการให้คะแนน และมักจะให้คะแนนเกินความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกับการรายงานหรือการอภิปรายหน้าชั้น
1. ปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียน ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ที่จะใช้ในภาคเรียนต่อไปมีเนื้อหาสาระที่ง่ายและกระชับมากกว่านี้
แนวทางในการแก้ไขปัญหา
2. เพิ่มเวลาในการนำเสนอความคิดของกลุ่ม15 นาทีค่อนข้างน้อย เป็น 15 นาทีเพื่อความเหมาะสม
3. ครูต้องอธิบายข้อกำหนดการให้คะแนนการประเมินตามสภาพจริงแก่ตัวแทนนักเรียนให้ละเอียดกว่านี้ และต้องเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีงามในการให้คะแนนอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับผลงานที่นำมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
4. ครูควรพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล ในอันที่จะนำไปสู่การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพัฒนาผลงานของนักเรียนให้สอดคล้องกับสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เกณฑ์การประเมินการอ่านบทร้อยกรอง
ประเด็นการประเมิน
3
2
1
1. อ่านตามอักขรวิธี
อ่านถูกต้องทุกคำ
อ่านผิดไม่เกิน 3 คำ
อ่านผิด 3 คำขึ้นไป
2. ทำนองในการอ่าน
อ่านถูกทำนอง
อ่านทำนองผิด
เล็กน้อย
อ่านทำนองผิด
3. การแบ่งวรรคตอน ในการอ่าน
อ่านแบ่งวรรคตอนได้
ถูกต้องตามลักษณะ
คำประพันธ์
แบ่งวรรคตอนผิดไม่
เกิน 3 แห่ง
แบ่งวรรคตอนผิด 3
แห่งขึ้นไป
4. นํ้าเสียงในการอ่าน
นํ้าเสียงไพเราะน่าฟัง นํ้าเสียงไพเราะ
พอสมควร
นํ้าเสียงไม่ไพเราะ
5. การอ่านตกเติมตู่ตัว
อ่านไม่ตกเติมตู่ตัว
อ่านตกเติมตู่ตัวน้อยกว่า 3 แห่ง
อ่านตกเติมตู่ตัวมากกว่า 3 แห่ง
---------------------------------------------
 

y

อ่าน y ครั้ง
y...